วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553







....คำถาม....
1.การจัดสวนถาดคืออะไร ?
2.มีกี่แบบกี่ชนิด ?
3.แต่ละแบบมีอุปกรณ์อะไรบ้าง ?
4.วิธีการเลือกต้นไม้ ?
5.การออกแบบและการเขียนแบบ ?

....เฉลย....

1.ตอบ



ได้แก่ การจัดกลุ่มไม้ดอก กล้วยไม้ ไม้ใบ หรือผสมสานกัน ปลูกลงในภาชะที่ชอบ ไม่ว่าจะเป็นโลหะ เครื่องจักสาน เครื่องเคลือบ กระถางทรงต่าง ๆ เหมาะที่จะเป็นของขวัญ ของกำนัล หรือใช้ตกแต่งสถานที่ โดยมีความทนทานกว่าดอกไม้สด เมื่อต้นไม้เริ่มโตแน่นภาชนะ ก็ย้ายไปปลูกในที่ใหม่ได้ อายุการใช้งานขึ้นอยู่กับการเลือกใช้พันธุไม้ด้วย การจัดสวนถาดในลักษณะนี้ทำให้เกิดความชำนาญในการใช้สีสัน การเลือกรูปทรง เส้นสาย และสัดส่วนของต้นไม้ ความละเอียด ความหยาบของใบ การจัดวางจุดเด่น การเลือกภาชนะให้เข้ากับต้นไม้และรูปแบบการจัดวาง





2.ตอบเนื่องจากภาชนะสำหรับจัดสวนถาดมักมีขนาดเล็กกะทัดรัด ยกย้ายไปมาง่าย หรืออาจจะมีขนาดใหญ่จนเคลื่อนย้ายยาก แต่ก็มีลักษณะจำกัด ทำให้ต้นไม้ไม่สามารถเติบโตหยั่งรากได้อย่างอิสระเช่นอยู่ในพื้นดิน ดังนั้น ต้นไม้สำหรับสวนถาดจึงควรมีขนาดเล็ก แคระ หรือเป็นไม้ดัด ไม้บอนไซ ปลูกเลี้ยงง่าย และทนทานเมื่ออยู่ในที่จำกัด ตัวอย่างเช่น
3.ตอบ เมื่อเราทราบถึงวัสดุในการทำสวนถาดแล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ ภาชนะของสวนถาด ซึ่งก็มีมากมายหลายรูปแบบ อาจเป็นเครื่งอจักสาน เซราปิก หรือเครื่องดินเผา ก็ได้

4.ตอบ
เนื่องจากภาชนะสำหรับจัดสวนถาดมักมีขนาดเล็กกะทัดรัด ยกย้ายไปมาง่าย หรืออาจจะมีขนาดใหญ่จนเคลื่อนย้ายยาก แต่ก็มีลักษณะจำกัด ทำให้ต้นไม้ไม่สามารถเติบโตหยั่งรากได้อย่างอิสระเช่นอยู่ในพื้นดิน ดังนั้น ต้นไม้สำหรับสวนถาดจึงควรมีขนาดเล็ก แคระ หรือเป็นไม้ดัด ไม้บอนไซ ปลูกเลี้ยงง่าย และทนทานเมื่ออยู่ในที่จำกัด ตัวอย่างเช่น


โมกแคระ
ตัดแต่งรูปทรงหรือดัดให้มีรูปร่างเหมือนไม้ใหญ่ได้
สูง 10-30 เซนติเมตร จัดเป้นจุดเด่นนในสวนถาด
ผลิดอกสีขาวขนาดจิ๋ว กลิ่นหอม ใบเล็กรับกับขนาดต้น
ขยายพันธุ์ด้วยวิธีตอนและปักชำ

บลูฮาวาย
ลักษณะเป็นพุ่มไม้เล้ก สูงประมาณ 15-30 เซนติเมตร
ออกดอกที่ปลายยอด สีม่วงน้ำเงิน
เหมาะจัดไว้เป็นฉากหลังเพราะค่อนข้างสูง
ขยายพันธุ์ด้วยวิธีปักชำ

บีโกเนีย
ลักษณะเป็นไม้ดอกล้มลุก
ดอกมีหลายสี เช่น ขาว แดง ชมพู ส้ม
เหมาะจัดไว้ในตำแหน่งที่เห็นดอกชัดเจน
ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ชำยอด ชำใบ

เหลืองคีรีบูน
ลักษณะเป็นไม้พุ่ม
สูง 20-40 เซนติเมตร ดอกเป็นสีเหลือง
เหมาะกับภาชนะที่ใช้ต้นไม้ไม่มากนัก
ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ

ดาดตะกั่ว
เป็นไม้คลุมดิน
หน้าใบสีเขียวเคลือบเงิน หลังใบสีม่วงแดง
เหมาะจัดแทรกไว้กับพันธุ์ไม้อื่น
ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ

พลูด่างต่าง ๆ และฟิโลเดนตรอน
พลูและฟิโลเดนตรอนมีหลายชนิด ส่วนมากใบพลูมักมีขนาดกะทัดรัดกว่าใบฟิโลเดนดรอน ถ้าใช้ฟิโลเดนดรอนก็เลือกพันธุ์ที่มีใบเล็ก แต่คงเหมาะกับกระเช้าขนาดค่อนข้างใหญ่ พลูต่าง ๆ ได้แก่ พลูด่าง ราชินีหินอ่อน พลูทอง พลูลงยา พลูฉลุ พลูสนิม พลูเขียว หัวใจแนบ ทุกชนิดชอบแสงรำไรราว 50-70 %

แคคตัส
ลักษณะเป็นไม้อวบน้ำ
ชอบที่มีแสงอ่อน ๆ
สามารถป้องกันอันตรายากสัตว์ แมลงและกันน้ำระเหยได้
โดยมากมีขนาดเล็ก
5.ตอบ
1. สวนถาดที่มีลักษณะคล้ายการจัดแจกัน ได้แก่ การจัดกลุ่มไม้ดอก กล้วยไม้ ไม้ใบ หรือผสมผสานกัน ปลูก ลงในภาชนะที่ชอบ ไม่ว่าจะเป็นโลหะเครื่องจักสานเครื่องเคลือบกระถางทรง ต่างๆซึ่งเหมาะเป็นของขวัญของกำนัลหรือใช้ตกแต่งสถานที่ โดยมีความทน ทานกว่าดอกไม้สด เมื่อต้นไม้เริ่มโตจนแน่นภาชนะแล้ว ก็ย้ายไปปลูกที่ใหม่ ได้ อายุการใช้วานนั้นขึ้นอยู่กับการเลือกพันธุ์ไม้ด้วย เช่นไม้ดอกล้มลุกย่อมมี อายุสั้นกว่าไม้ใบ เมื่อไม้ดอกหมดอายุเรายังเหลือไม้ใบที่นำไปปลูกต่อได้สวน ถาดที่จัดกลุ่มต้นไม้ เช่น การจัดแจกันนี้ทำให้เกิดความชำนาญในการใช้สีสัน การเลือกรูปทรงเส้นสาย และสัดส่วนของต้นไม้ ความละเอียดความหยาบของใบการจัดวางจุดเด่น การเลือกภาชนะให้เข้ากับต้น ไม้และรูปแบบการจัด
2.สวนถาดที่ย่อส่วนมาจากทิวทัศน์หรือเรื่องราว 2.1 ย่อส่วนทิวทัศน์ภูเขาโดยใช้ก้อนหินจริงมาจำลอง สวนถาดแบบนี้คล้ายการย่อส่วนทิวทัศน์ของภูเขา ซึ่งอาจจงใจให้เป็น ภาพของภูเขาขนาดใหญ่หรือมุมเล็กๆ ของก้อนหิน ซึ่งมีดอกไม้ต้นไม้ขึ้น แทรกอยู่อาจมีตุ๊กตาสัตว์หรือคนจำลอง รวมทั้งสะพาน สิ่งก่อสร้าง เรือ ฯลฯ ควรจัดลงในถาดที่ค่อนข้างตื้น ต่ก็ควรจะลึกพอเพียงสำหรับใส่ดิน หรือเครื่องปลูก ถ้ามีการปลูกต้นไม้ประกอบ หากไม่ใช้ต้นไม้เลยหรือเป็น ต้นไม้ที่ขึ้นเกาะหิน ท่อนไม้หรือไม้ถูกน้ำเซาะ เช่น พวกไทร สับปะรดสี ทิลแลนเซีย ซึ่งไม่ต้องการเครื่องปลูก ภาชนะก็มีลักษณะแบนๆบางๆอาจ มีขอบยกขึ้นเล็กน้อยเพื่อหล่อน้ำใหห้ชุ่มชื่น ซึ่งดูคล้ายเกาะกลางผืนน้ำก็ได้ 2.2 เขามอ หรือสวนถาดที่ก่อภูเขาขึ้นเอง เขามอคือบอนไซชนิดหนึ่งซึ่งคนไทยนิยมเล่นกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณโดยมากมักก่อภูเขาขึ้นเองด้วยหินขนาดเล็กสีน้ำตาล ผิวมีรอยร่อง เรียกว่า หินเสี้ยน ในสมัยก่อนมีการก่อเขามอขนาดใหญ่สูงท่วมศีรษะ เพื่อประดับวังหรือบ้านด้วยปัจจุบันก็มักอยู่ใน ถาดเคลือบ ซึ่งอาจโยกย้ายไปมาได้เหมือนสวนถาดอื่นๆ แต่ก็ทำได้ไม่ง่ายนัก เพราะค่อนข้างมีน้ำหนักมาก ทิวทัศน์ภูเขาเหล่านี้ ค่อนข้างเป็น เทือกเขาแบบภาพวาดของจีนหรือญี่ปุ่น ซึ่งมีต้นไม้ขึ้นแทรกหรือเกาะบนหิน อาจมีแอ่งน้ำ ลำธารหรือน้ำตกบนภูเขาด้วยก็ได้ หรืออาจมีน้ำล้อมรอบภูเขาคล้ายทิวทัศน์ทะเล หรืออาจล้อมรอบภูเขา ด้วยแนวป่าโปร่ง ทุ่งหญ้า ตามแต่จินตนาการของผู้จัด ลักษณะพิเศษของเขามอคือ ภายในกลวง ถ้าจะ เปรียบเทียบอย่างง่าย ก็เหมือนกระถางต้นไม้ใบหนึ่ง ซึ่งมีรูระบายน้ำที่ก้นและรูปทรงของกระถางใบนี้ก็ เป็นภูเขาจำลองนั่นเอง 2.3 ย่อส่วนทิวทัศน์ทั่วไป สวนถาดลักษณะนี้ใช้ภาชนะได้ทุกประเภท แต่ก็ควรมีความลึกพอ สำหรับบรรจุเครื่องปลูกเพราะมักปลูกต้นไม้จริงประกอบอย่างไรก็ดีภาชนะ ควรมีสีหรือรูปทรงที่ไม่เด่นเกินไป จนลดความน่าสนใจของเรื่องราวที่เรา ตั้งใจนำเสนอสวนถาดแบบนี้ ควรมีของตกแต่งที่เข้ากับเรื่องราวที่เราตั้งใจ นำเสนอ เช่น มุมสวนแบบไทยก็อาจมีโอ่งดินเผาขนาดเล็กศาลาหลังคามุง จากรั้วไม้มุมสวนญี่ปุ่นควรมีอ่างหิน ( stone basin ) กระบวยไม้ไผ่ รางน้ำ ไหล รั้วไผ่ขัดแตะถ้าเป็นทิวทัศน์ เราอาจดูแบบอย่างมาจากภาพในหนังสือ ปฏิทิน หรือเก็บความประทับใจจากการท่องเที่ยวสถานที่ต่างๆไม่ว่าจะเป็นในประเทศหรือต่างประเทศ ส่วนเรื่องราวต่างๆนั้น เราอาจผูกเรื่องขึ้นเองเป็นภาพชีวิตในชนบทจากนิทานหรือนิยายปรัมปรา ตลอด จนชีวิตในบ้าน ชีวิตสัตว์ในป่าหรือทุ่งหญ้า






วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553



ถั่วงอก..…..เพาะกินเองในบ้าน.............ปัจจุบัน ถั่วงอกเป็นผักเศรษฐกิจที่น่าสนใจ เฉพาะในกรุงเทพฯ มีการบริโภควันละ 200,000 กิโลกรัม นอกจากนี้เป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะมีโปรตีน วิตามินและเกลือแร่เป็นผักชนิดเดียวที่ใช้เวลาเพาะเพียง 3 - 4 วัน จึงสามารถทำรายได้ดีกับผู้เพาะ แต่พบว่าถั่วงอกส่วนใหญ่ที่จำหน่ายนั้นมีสารเคมีปนเปื้อน เพราะผู้ขายต้องการสนองตลาดผู้บริโภคที่ชอบถั่วงอกที่มีความกรอบขาว และอวบอ้วน นอกจากนี้ผู้ขายยังต้องการเร่งการงอกของถั่ว การรักษาถั่วงอกให้คงความสดอยู่นานระหว่างการขนส่งสู่ตลาด และการรอจำหน่ายสู่ลูกค้า..............ดังนั้นผู้ผลิตจึงใช้สารเคมีจำพวกสารเร่ง สารอ้วน สารฟอกขาว (โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์) สารคงความสด (ฟอร์มาลิน) ซึ่งสารเคมีเหล่านี้กระทรวงสาธารณสุขไม่อนุญาตให้ใช้ผสมในอาหาร เพราะล้วนเป็นสารที่มีพิษต่อร่างกายสูง หากรับประทานเข้าไปอาจจะมีผลต่อระบบทางเดินอาหาร ระบบหายใจ ระบบประสาทและอาจจะทำให้เสียชีวิตได้
ตารางเปรียบเทียบคุณค่าทางอาหารระหว่างผักงอกชนิดต่าง ๆ(created chart by FDA Consumer Magaqine/U.S. Agriculture Department)
ผักงอกดิบ(ปริมาณ 2 ถ้วย)
พลังงาน(คาลอรี่)
โปรตีน (กรัม)
เส้นใย%
วิตามินซี
ธาตุเหล็ก
Folate
..ถั่วอัลฟัลฟางอก
10
1.3
3
5
2
3
..ถั่วเขียวงอก
26
2.5
4
23
4
9
..ผักกาดแดงงอก
16
1.6
A
18
2
9
..ถั่วเหลืองงอก
86
9.0
3
17
8
90
..ข้าวสาลีงอก
214
8.0
4
5
11
10
หมายเหตุ : วิตามินซี ธาตุเหล็ก และ Folate มีปริมาณเป็น % daily value)(คัดลอกและแปลความหมายจาก "SPROUTS AND NUTRITION" by ISGA-International Sprout GrowersAssociation/website address www.isga-sprouts.orgX
หลักการพื้นฐานทั่วไปในการเพาะถั่วงอกปัจจัยที่สำคัญที่การเพาะถั่วงอก มี 6 อย่างด้วยกันคือ1. เมล็ดถั่ว2. ภาชนะเพาะ3. น้ำ4. วัสดุเพาะ5. ภูมิอากาศ6. แสงสว่าง
1. เมล็ดถั่วเมล็ดถั่วที่นำมาเพาะเป็นถั่วงอกที่นิยมบริโภคที่สุดคือ เมล็ดถั่วเขียว เมล็ดถั่วเขียวที่สามารถนำมาเพาะเป็นถั่วงอกนั้นมี 2 พันธุ์ คือ ถั่วเขียวผิวมัน (เปลือกเมล็ดสีเขียว) และเมล็ดถั่วเขียวผิวดำ เมล็ดจะต้องใหม่ไม่เก่าเก็บเพราะอัตราการงอกจะลดลงเรื่อยตามระยะเวลาที่เก็บไว้ เมล็ดต้องสะอาด ไม่มีเชื้อจุลินทรีย์ และจำนำเมล็ดมาทำความสะอาดอย่างดีก่อนเพาะ โดยการแช่เมล็ดถั่วในน้ำอุ่น 50 - 60 องศาเซลเซียส หรือผสมน้ำเดือดจัด 1 ส่วน กับน้ำเย็น 1 ส่วน แช่ทิ้งไว้จนน้ำเย็น แล้วแช่ต่อไปนาน 6 - 8 ชั่วโมง วิธีนี้นอกจากจะฆ่าเชื้อโรคแล้ว ยังกระตุ้นให้ถั่วงอกงอก ได้เร็วขึ้นด้วย
2. ภาชนะภาชนะเพาะทำหน้าที่รองรับเมล็ดถั่ว ป้องกันแสงสว่าง ปรับสภาพความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการงอก จำกัดขอบเขตการงอกของถั่ว ทำให้ถั่วงอกมีลักษณะลำต้นอวบสั้น ภาชนะเพาะควรมีปากแคบเพื่อจำกัดการงอกของถั่ว ภาชนะดินเผาจะเก็บความชื้นได้ดีกว่าภาชนะพลาสติก แต่ภาชนะพลาสติกคงทน น้ำหนักเบา ราคาถูก ทำความสะอาดง่าย โดยปกติเมล็ดถั่ว 1 ส่วน จะโตเป็นถั่วงอกประมาณ 5 - 6 เท่า โดยน้ำหนัก ดังนั้นขนาดของภาขนะควรจะพอเหมาะกับปริมาณของเมล็ดถั่วที่เพาะด้วยภาชนะเพาะควรมีสีทึบเพื่อป้องกันแสงสว่าง หรือเป็นภาชนะที่มีฝาปิด ภาชนะเพาะจะต้องมีรูระบายน้ำทั้งด้านล่างและด้านข้าง ขนาดของจะต้องเล็กกว่าเมล็ดถั่ว ภาชนะเพาะจะต้องสะอาดเสมอ ควรล้างทำความสะอาด คว่ำตากแดดให้แห้งหรือลวกน้ำร้อยฆ่าเชื้อโรค แล้วผึ่งแห้ง หลักจากใช้งานแล้วทุกครั้ง
3. น้ำน้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญสำหรับการเพาะ อาจจะเป็นน้ำจากแหล่งธรรมชาติ น้ำบาดาล หรือน้ำประปาที่สะอาดและมีอุณหภูมิปกติ เมล็ดถั่วจะต้องได้รับน้ำสะอาดและปริมาณที่พอเพียงสม่ำเสมอตลอดการเพาะ 2 - 3 วัน หากขาดน้ำจะทำให้การงอกชะงัก ไม่เติบโตสมบูรณ์ เพราะน้ำเป็นปัจจัยที่ทำให้ถั่วงอกเจริญเติบโต ระบายความร้อยที่เกิดขึ้นระหว่างการงอก ความร้อนภายในภาชนะจะทำให้ถั่วเน่า ควรรดน้ำสะอาดสม่ำเสมอทุก 2 - 3 ชั่วโมง หากภาชนะเป็นพลาสติกและรดน้ำสะอาดทุก 3 - 4 ชั่วโมงหากภาชนะเป็นประเภทดินเผาการรดน้ำจะรดจนกว่าน้ำที่ไหลออกจากภาชนะเพาะมีอุณหภูมิเท่ากับน้ำที่ใช้รดรดน้ำมากถั่วจะเน่า หากรดน้ำน้อยไปถั่วจะรากยาวแตกฝอย นอกจากนี้ ควรตั้งภาชนะเพาะไว้ในที่แห้ง ระบายน้ำและอากาศได้ดี
4. วัสดุเพาะอาจจะใช้วัสดุเพาะเพื่อช่วยเก็บความชื้น เพิ่มน้ำหนักกดทับทำให้ถั่วงอกอวบอ้วน วัสดุเพาะได้แก่ ทราย แกลบเผา ฟางข้าว ฟองน้ำ ฯลฯ การใช้วัสดุเพาะต้องอาศัยความชำนาญ
5. ภูมิอากาศฤดูฝน ฝนตกมาก ความชื้นในอากาศสูง ภาวะการเจริญเติบโตของถั่วจะช้าและเน่าง่าย ปริมาณน้ำที่ใช้รดก็จะน้อยลง
6. แสงสว่างแสงสว่างทำให้ถั่วมีสีเขียว ลำต้นผอมยาว และมีกลิ่นถั่ว ดังนั้นภาชนะเพาะควรทึบแสง หรือมีสีดำ สีเขียว สีน้ำเงิน หรืออาจจะมีฝาปิด หรือตั้งภาชนะไว้ในที่มืด ไม่มีแสง
หนังสืออ้างอิงคมสัน หุตะแพทย์ และกำพล กาหลง. สารพัดวิธีเพาะถั่วงอก สยามศิลปการพิมพ์ : กรุงเทพมหานคร.2545.
วิธีการเพาะถั่วงอกในถังพลาสติกอุปกรณ์1. ถังพลาสติกสีเขียวทึบแสง มีฝาปิด ขนาดกว้าง 7 นิ้ว สูง 6 นิ้ว เจาะรูที่ก้น ขนาดเล็กกว่าเมล็ดถั่วเขียว ประมาณ 12 รู2. เมล็ดถั่วเขียวหนักประมาณ 200 กรัม3. แผ่นฟองน้ำตัดเป็นแผ่นวงกลมขนาดใหญ่กว่าความกว้างของถังเล็กน้อย 1 แผ่น4. น้ำอุ่น (น้ำเดือด 1 ส่วน ผสมกับน้ำอุณหภูมิปกติ 1 ส่วน)5. น้ำสะอาดสำหรับรดน้ำถั่วทุก 3 - 4 ชั่วโมง
ขั้นตอน/วิธีการเพาะ1. การเตรียมเมล็ดถั่ว- เลือกเมล็ดถั่วที่ไม่เก่า เก็บเศษสกปรกและเลือกเมล็ดที่ไม่สมบูรณ์ทิ้ง- แช่ถั่วในน้ำอุ่น และแช่ต่อไปจนน้ำเย็น ประมาณ 6 - 8 ชั่วโมง เมล็ดถั่วจะพองขึ้น เก็บเมล็ดที่ลอยน้ำทิ้งไป- ล้างถั่วให้สะอาด2. การเตรียมภาชนะและวัสดุเพาะ- ภาชนะเพาะจะต้องสะอาด แห้ง ผ่านการตากแดด หรือฆ่าเชื้อแล้ว- ฟองน้ำสะอาดผ่านการฆ่าเชื้อด้วยน้ำร้อน แล้วตากแดดแห้ง3. นำถั่วเขียวจากข้อ 1 ใส่ในถังเพาะเกลี่ยให้เสมอกัน4. วางฟองน้ำปิดทับบนเมล็ดถั่ว5. รดน้ำบนฟองน้ำให้ทั่ว อาจจะใช้ฝักบัวรดน้ำ หรือสายยางก็ได้6. ปิดฝาถังเพาะ วางไว้ในที่ร่ม ไม่ร้อน และพื้นแห้ง อาจจะวางบนอ่างล้านจานในล้าน7. รดน้ำทุก ๆ 3 - 4 ชั่วโมง โดยรดน้ำให้ทั่วบนฟองน้ำ ให้น้ำไหลผ่านออกทางรูด้านล่าง ควรรด 2 ครั้ง ครั้งแรกเพื่อระบายความร้อน ครั้งที่ 2 เพื่อให้ถั่วชุ่มน้ำ หากเวลากลางวันที่ไปทำงานหรือกลางคืน อาจจะวางถังเพาะ เปิดฝาไว้ในอ่างล้างแล้วปล่อย ให้น้ำค่อย ๆ หยดตลอดเวลา8. รดน้ำตามข้อ 7 นาน 3 วัน วันที่ 2 ถั่วงอกจะถอดปลอก ควรรับประทานในวันที่ 3 หรือ 4 หากยังไม่รับประทาน ให้นำถั่วใส่ในตู้เย็น หรือเก็บถั่วงอกใส่ถุงพลาสติก หากทิ้งไว้ถั่วจะงอกยืดยาวออก9. เก็บถั่วงอกออกจากถัง ทำความสะอาดทุกครั้งที่ใช้แล้ว

อุปกรณ์ในการเพาะถั่วงอก

1..เมล็ดถั่วเขียว

2..กระสอบ(ป่าน)

3..ตะแกรงพลาสติก

4..ซึ้ง


.....วิธีการเพาะถั่วงอก.....

1.นำถั่วเขียวไปแช่นำ 8-10 ชั่วโมง

2.นำถั่วเขียวที่เสียคัดออก

3.เอากระสอบป่านวางรองพื้นตามด้วยตะแกรงพลาสติกนำถั่วงอกโรยแล้วทำอย่างนี้ซำหลายๆชั้นจนเสร็จ