วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553

ปัจจัยที่สำคัญสำหรับการเพาะถั่วงอก : 1. เมล็ดพันธุ์ถั่วต้องดี มีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูง สายพันธุ์ถั่วเขียวที่คุณนิมิตแนะนำคือ สายพันธุ์ “กำแพงแสน2” เนื่องจากเป็นถั่วเขียวผิวมนเมล็ดใหญ่ มีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูงทำให้ถั่วงอกที่เพาะออกมา ต้นโต ยาว อวบอ้วน น่ารับประทาน2. ภาชนะที่เพาะต้องทึบแสง มีการระบายน้ำดี เช่น การเพาะถั่วงอกในตะกร้า ก็เอาถุงดำมาคลุมแล้วไว้ในห้องที่มืด หรือเพาะในวงบ่อซีเมนต์ที่ปิดปากบ่อให้มืด เป็นต้น3. มีการให้น้ำอย่างเหมาะสมและเพียงพอที่จะทำให้ถั่วงอกที่เพาะไม่เกิดความร้อนที่สะสมมากเกินไป วิธีสังเกตง่าย ๆ ว่ามีความร้อนสะสมหรือไม่โดยให้ผู้เพาะใช้มือสัมผัสเมล็ดถั่วเขียวชั้นบนสุดว่ารู้สึกร้อนหรือไม่ และการให้น้ำแต่ละครั้งจะต้องไม่มีไอจากความร้อนขึ้นมาเพาะถ้าตะกร้าหรือวงบ่อที่เพาะถั่วงอกมีความร้อนสะสมมากไป ก็จะมีผลต่อการเจริญเติบโตของถั่วงอกจะทำให้ลำต้นเล็กไม่อวบอ้วนจะทำให้ถั่วงอกมีรากฝอยมาก ทำให้ไม่น่ารับประทาน***เมื่อเข้าใจหลัก 3 ประการเบื้องต้นแล้ว “เกษตรกรและผู้สนใจควรเริ่มต้นการเพาะถั่วงอกตัดรากแบบใช้ตะกร้าพลาสติกเป็นภาชนะเพื่อให้เกิดความชำนาญก่อนเป็นอันดับแรก” เกษตรกรจะเกิดขบวนการเรียนรู้ ตั้งแต่เริ่มเตรียมอุปกรณ์จนตัดรากถั่วงอกเพื่อจำหน่าย เมื่อเกิดความชำนาญในการเพาะถั่วงอกตัดรากมีตลาดเข้ามาก็สามารถขยายกำลังผลิตได้ไม่ยาก อุปกรณ์ที่ใช้ในขั้นตอนการเพาะถั่วงอกตัดรากในวงบ่อซีเมนต์ : 1. ท่อปูนซีเมนต์ขนาด 50x 50 เซนติเมตร ตามจำนวนที่ต้องการ ซึ่งเจาะท่อด้านล่างด้วยท่อพีวีซี 1 จุดเพื่อให้ระบายน้ำออก2. ตะแกรงรองพื้นก้นท่อ จำนวน 1 อันต่อท่อ ซึ่งใช้ตะแกรงโลหะขนาดรูตาใหญ่ ตัดหรือดัดให้พอดีกับก้นท่อซีเมนต์ยกให้สูงจากพื้นเล็กน้อยเพื่อให้มีการระบายน้ำได้สะดวก3. ตระแกรงเกล็ดปลา เป็นตะแกรงพลาสติกที่มีรูละเอียดมีขนาดของรู กว้าง x ยาว 4-5 มิลลิเมตรเท่านั้น หรือดูให้มีรูตาเล็กกว่าเมล็ดถั่วเขียวป้องกันการหลุดร่วง ตะแกรงชนิดนี้มีจำหน่ายตามร้านวัสดุก่อสร้าง เมื่อเมล็ดถั่วเขียวงอก ส่วนของรากจะแทงทะลุตะแกรงออกมา ส่วนของต้นจะตั้งตรง สะดวกต่อการตัดต้นถั่วงอกออกจากตะแกรง ในการเพาะถั่วงอกตัดรากไร้สารพิษต่อ 1 ตะกร้า จะใช้ตะแกรงรองพื้น 1 แผ่นและตะแกรงเกล็ดปลาจำนวน 4 แผ่น4. กระสอบป่าน ประโยชน์ของการใช้กระสอบป่านหรือกระสอบข้าวเปลือก เพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่เมล็ดถั่วเขียวที่ทำการเพาะและสามารถซักทำความสะอาดได้หลายครั้งหลังจากเพาะถั่วงอกในแต่ละครั้งจะต้องตัดกระสอบป่านให้มีขนาดเท่ากับตะแกรงเกล็ดปลาและจะใช้จำนวน 6 ผืนต่อการเพาะถั่วงอก 1 ท่อ5. ผ้าสักหลาดสีดำ หรือผ้าที่แสงสามารถส่องผ่านเข้าได้ยาก 1 ผืนติดกันเป็นผืนใหญ่เอาไว้คลุมหลังจากที่เพาะถั่วงอกเสร็จตามขั้นตอน

อุปกรณ์ที่ใช้ในการตัดถั่วงอก : 1. มีดด้ามยาว เอาไว้ตัดตัวงอกเมื่ออายุได้ 3 วันแล้ว2. กะละมังใบใหญ่ เอาไว้เวลาตัดถั่วงอกลงล้าง3. ตะแกรงห่างเอาไว้ชอนถั่วงอกใส่ตะกร้า4. ตะกร้า หลังจากที่ทำการตัดรากลงในกะละมังน้ำเพื่อล้าง แล้วชอนถั่วงอกลงตะกร้าเพื่อผึ่งลมให้แห้ง และเข้าสู่ขั้นตอนการบรรจุถุงและการเก็บรักษา5. ขั้นตอนการบรรจุถุงและการเก็บรักษา นับเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ เมื่อต้นถั่วงอกสะเด็ดน้ำแล้วให้รีบเอาไปบรรจุลงถุงพลาสติกทันที มัดปากถุงให้แน่น เหตุผลที่ต้องรีบบรรจุถั่วงอกลงถุงพลาสติกให้เร็วที่สุดเพราะถ้าปล่อยให้ถั่วงอกสัมผัสอากาศนาน ๆ ต้นถั่วงอกจะเปลี่ยนสีจากสีขาวเป็นสีเหลืองแล้วจะคล้ำดำในที่สุด ตลาดไม่ต้องการหรือนำไปประกอบอาหาร ถั่วงอกแบบอินทรีย์นี้สามารถเก็บได้นานถึง 7- 10 วันโดยไม่เหลือง และยังคงความสด และกรอบเหมือนใหม่ ๆ แต่จะต้องเก็บไว้ในตู้เย็น

การเพาะถั่วงอกตัดรากแบบอินทรีย์ในวงบ่อซีเมนต์
มีตัวเลขของการบริโภคถั่วงอกเฉพาะกรุงเทพมหานครเพียงจังหวัดเดียวมีมากถึง 2 แสนกิโลกรัมต่อวัน เมื่อคำนวณทั้งประเทศคนไทยจะบริโภคถั่วงอกไม่น้อยกว่า 1 ล้านกิโลกรัมต่อวัน ดังนั้นอาชีพการเพาะถั่วงอกจึงเป็นอาชีพที่น่าสนใจของเกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป แต่รูปแบบการเพาะถั่วงอกตัดรากและผลิตในรูปแบบของเกษตรอินทรีย์จนได้รับใบรับรองผลิตภัณฑ์อินทรีย์มาตรฐานประเทศไทย จากกรมวิชาการเกษตร จะมีอยู่ไม่กี่ราย ที่มีชื่อเสียงระดับประเทศจะเป็นของ คุณนิมิตร์ เทียมมงคล บ้านเลขที่ 98 หมู่ 3 ต.โคกลำพาน อ.เมือง จ.ลพบุรี 15000 ที่เริ่มต้นจากการเพาะถั่วงอกตัดรากไร้สารพิษในตะกร้าพลาสติก ประยุกต์วัสดุเพาะมาเพาะในบ่อซีเมนต์เนื่องจากตลาดต้องการมากขึ้น คุณนิมิตร์บอกว่าใน การเพาะถั่วงอกในวงบ่อซีเมนต์นั้น จะใช้วงบ่อขนาดปากกว้าง 50 เซนติเมตร สูง 50 เซนติเมตร เมื่อคิดเป็นต้นทุนค่าวงบ่อประมาณ 80 บาทต่อวง ซึ่งเป็นค่าลงทุนเพียงครั้งแรกและครั้งเดียว (เพาะถั่วงอกตัดรากแบบอินทรีย์เพียงครั้งเดียวจะได้ค่าวงบ่อคืนแล้ว) การลงทุนในครั้งต่อ ๆ ไปจะเป็นค่าเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว ซึ่งคุณนิมิตร์จะเลือกใช้ถั่วเขียวพันธุ์ “กำแพงแสน 2” เนื่องจากมีข้อดีที่เมล็ดค่อนข้างใหญ่และมีอัตราการงอกสูง สถานที่จะใช้เพาะควรจะมีการยกพื้นให้มีการระบายน้ำดี ข้อสำคัญยิ่งประการหนึ่งในการเพาะถั่งงอกคือน้ำที่ใช้รดได้น้ำสะอาดจะดีมาก จะใช้น้ำบาดาลก็ได้แต่ถ้าเป็นน้ำประปาควรจะมีที่พักน้ำเพื่อให้กลิ่นคลอรีนเหลือน้อยที่สุด ปัจจุบันคุณนิมิตร์จะเพาะถั่วงอกตัดรากแบบอินทรีย์จำนวน 90 วงบ่อ โดยเพาะครั้งละ 16 วงบ่อ (1 วงบ่อสามารถเพาะถั่วงอกได้ 12 กิโลกรัม) โดยจะเพาะอาทิตย์ละ 2 วัน คือให้มีถั่วงอกส่งลูกค้าทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี ในแต่ละครั้งจะผลิตถั่วงอกได้ประมาณ 200-400 กิโลกรัม มากน้อยแล้วแต่ออร์เดอร์สั่งมา นอกจากนี้ถั่วงอกอินทรีย์ของคุณนิมิตร์จะส่งให้ภาคเอกชนเป็นวัตถุดิบในการผลิตก๋วยเตี๋ยวผัดไทยแบบแช่แข็งส่งไปขายยังสหรัฐอเมริกา คุณนิมิตร์ยังได้บอกว่าเกษตรกรและประชาชนที่สนใจจะเริ่มต้นเพาะถั่วงอกตัดรากแบบอินทรีย์ควรจะเริ่มแบบครัวเรือนทดลองเพาะในตะกร้าพลาสติกให้เกิดความชำนาญเสียก่อน (การเพาะถั่วงอกในวงบ่อจะรักษาความชื้นได้ดีกว่าเพาะในตะกร้าพลาสติก) ในอดีตถั่วงอกตัดรากของคุณนิมิตร์จะมีลักษณะอ้วนสั้น ปัจจุบันจะผลิตเป็นลักษณะผอมแต่ยาวกว่า เนื่องจากพบว่าถั่วงอกที่มีลักษณะอ้วนสั้นมีลักษณะอวบน้ำ อายุการวางจำหน่ายสั้นเน่าเสียได้ง่ายกว่า ถั่วงอกตัดรากแบบอินทรีย์ของคุณนิมิตร์ เทียมมงคล จะมีเอกลักษณ์ที่มีความแตกต่างจากอวบน้ำ อายุการวางจำหน่ายสั้นเน่าเสียได้ง่ายกว่าถั่วงอกที่อื่นตรงที่ เก็บไว้ได้นานวัน เป็นถั่วงอกที่มีความยาวและขาว ที่สำคัญมีรสชาติหวานกรอบ หลายคนที่รับประทานเหมือนมันแกวไม่เหม็นเขียว

วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2553

การเพาะถั้วงอกตัดราก

วิธีและขั้นตอนการเพาะถั่วงอก ::: มาเพาะถั่วงอกกินเองกันเถอะครับ ผมลองทำดูแล้วได้ผลครับ อร่อย ปลอดภัย และได้คุณค่าทางโภชนาการสูงอีกด้วย

ปัจจุบัน ถั่วงอกเป็นผักเศรษฐกิจที่น่าสนใจ เฉพาะในกรุงเทพฯ มีการบริโภควันละ 200,000 กิโลกรัม นอกจากนี้เป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะมีโปรตีน วิตามินและเกลือแร่เป็นผักชนิดเดียวที่ใช้เวลาเพาะเพียง 3-4 วัน จึงสามารถทำรายได้ดีกับผู้เพาะ แต่พบว่าถั่วงอกส่วนใหญ่ที่จำหน่ายนั้นมีสารเคมีปนเปื้อน เพราะผู้ขายต้องการสนองตลาดผู้บริโภคที่ชอบถั่วงอกที่มีความกรอบขาว และอวบอ้วน นอกจากนี้ผู้ขายยังต้องการเร่งการงอกของถั่ว การรักษาถั่วงอกให้คงความสดอยู่นานระหว่างการขนส่งสู่ตลาด และการรอจำหน่ายสู่ลูกค้า ดังนั้นผู้ผลิตจึงใช้สารเคมีจำพวกสารเร่ง สารอ้วน สารฟอกขาว (โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์) สารคงความสด (ฟอร์มาลิน) ซึ่งสารเคมีเหล่านี้กระทรวงสาธารณสุขไม่อนุญาตให้ใช้ผสมในอาหาร เพราะล้วนเป็นสารที่มีพิษต่อร่างกายสูง หากรับประทานเข้าไปอาจจะมีผลต่อระบบทางเดินอาหาร ระบบหายใจ ระบบประสาทและอาจจะทำให้เสียชีวิตได้ ลองมาเพาะถั่วงอกกินเองกันเถอะครับ ผมลองทำดูแล้วได้ผลครับ อร่อย ปลอดภัย และได้คุณค่าทางโภชนาการสูงอีกด้วย เชิญดูวิธีและขั้นตอนการเพาะถั่วงอกตามผมกันเลยครับ

* หากต้องการดูภาพใหญ่ๆ ชัดๆ ให้คลิกที่รูปภาพนั้นๆ

กลับไปหน้าหลักเพื่อดูกิจกรรมอื่นๆ
คลิกที่นี่เพื่อดูประมวลภาพ (ภาพทั้งหมด) ของกิจกรรมนี้

1. ต้มน้ำให้เดือดครับ ตามรูปผมตักน้ำใส่ภาชนะแล้วต้มให้เดือด

2. เทน้ำที่เดือดได้ที่แ้ล้วใส่ภาชนะที่เตรียมไว้น้ำที่ต้มนั้นอาจเป็นน้ำจากแหล่งธรรมชาติ น้ำบาดาล หรือน้ำประปาที่สะอาดก็ได้ครับ



3. เทน้ำอุณหภูมิปกติในลงไป (น้ำเดือด 1 ส่วน ผสมกับน้ำอุณหภูมิปกติ 1 ส่วน) เพื่อให้ได้น้ำอุ่นประมาณ 50-60 องศาเซลเซียส เพื่อเตรียมแช่เมล็ดถั่ว ในรูปผมกำลังเอาปรอทวัดอุณหภูมิว่าได้ตรงตามที่ต้องการหรือเปล่า ภาชนะนั้นอาจใช้ภาชนะดินเผาหรือภาชนะพลาสติกก็ได้นะครับ ผมใช้ภาชนะดินเผา ที่ซื้อมาราคา 130 บาท

4. นำเมล็ดมาทำความสะอาดอย่างดีก่อนเพาะ โดยการแช่เมล็ดถั่วในน้ำอุ่น 50-60 องศาเซลเซียส หรือผสมน้ำเดือดจัด 1 ส่วน กับน้ำเย็น 1 ส่วน แช่ทิ้งไว้จนน้ำเย็น แล้วแช่ต่อไปนาน 6-8 ชั่วโมง เมล็ดถั่วที่นำมาเพาะควรเป็นถั่วงอกที่นิยมบริโภคที่สุดคือ เมล็ดถั่วเขียว เมล็ดถั่วเขียวที่สามารถนำมาเพาะเป็นถั่วงอกนั้นมี 2 พันธุ์ คือ ถั่วเขียวผิวมัน (เปลือกเมล็ดสีเขียว) และเมล็ดถั่วเขียวผิวดำ เมล็ดจะต้องใหม่ไม่เก่าเก็บ เพราะอัตราการงอกจะลดลงเรื่อยๆ ตามระยะเวลาที่เก็บไว้ เมล็ดต้องสะอาด ไม่มีเชื้อจุลินทรีย์



5. เจาะรูด้านล่าง (ก้น) ภาชนะอีกใบ เพื่อเตรียมเอาถั่วมาเพาะ ที่ต้องเจาะรูก็เพื่อไม่ให้น้ำขังเวลาเรารดถั่ว ถ้าไม่มีการระบายน้ำออกถั่วก็จะเน่าได้ครับ ขนาดของรูให้เล็กกว่าเมล็ดถั่วนะครับ ผมเจาะประมาณ 7 รูครับ

6. เมื่อแช่ถั่วในน้ำอุ่น (ตามข้อ 4) ครบ 6-8 ชั่วโมงแล้ว (ผมแช่ไว้ตอนบ่าย 4 โมงเย็น ตอนนี้ 6 ทุ่มแล้ว) ให้นำถั่วไปใส่ภาชนะที่จะเพาะ (เมล็ดถั่วที่แช่ด้วยน้ำอุ่นแล้วจะพองขึ้น ให้เก็บเมล็ดที่ลอยน้ำทิ้งไปด้วยนะครับ)



7. โดยปกติเมล็ดถั่ว 1 ส่วน จะโตเป็นถั่วงอกประมาณ 5-6 เท่า โดยน้ำหนัก ดังนั้นขนาดของภาชนะควรจะพอเหมาะกับปริมาณของเมล็ดถั่วที่เพาะด้วย ภาชนะเพาะควรมีสีทึบเพื่อป้องกันแสงสว่าง หรือเป็นภาชนะที่มีฝาปิด ภาชนะเพาะจะต้องมีรูระบายน้ำทั้งด้านล่างและด้านข้าง ขนาดของรูระบายจะต้องเล็กกว่าเมล็ดถั่ว ภาชนะเพาะจะต้องสะอาดเสมอ ควรล้างทำความสะอาด คว่ำตากแดดให้แห้งหรือลวกน้ำร้อนฆ่าเชื้อโรค แล้วผึ่งแห้ง หลังจากใช้งานแล้วทุกครั้ง

8. เมื่อนำเมล็ดถั่วใส่ในถังเพาะเกลี่ยให้เสมอกันแล้ว ให้ปิดด้วยฟองน้ำหรือฝาขาวที่สะอาดก็ได้ จากนั้นให้รดน้ำด้านบนให้ทั่ว อาจจะใช้ฝักบัวรดน้ำ หรือสายยางก็ได้ การรดน้ำนั้นให้รดน้ำทุก ๆ 3-4 ชั่วโมง โดยรดน้ำให้ทั่ว ให้น้ำไหลผ่านออกทางรูด้านล่าง ควรรด 2 ครั้ง ครั้งแรกเพื่อระบายความร้อน ครั้งที่ 2 เพื่อให้ถั่วชุ่มน้ำ หากเวลากลางวันที่ไปทำงานหรือกลางคืน อาจจะวางถังเพาะ เปิดฝาไว้ในอ่างล้างแล้วปล่อย ให้น้ำค่อย ๆ หยดตลอดเวลา



9. การรดน้ำนั้นให้รดน้ำทุก ๆ 3-4 ชั่วโมง โดยรดน้ำให้ทั่ว ให้น้ำไหลผ่านออกทางรูด้านล่าง ควรรด 2 ครั้ง ครั้งแรกเพื่อระบายความร้อน ครั้งที่ 2 เพื่อให้ถั่วชุ่มน้ำ

10. ภาชนะควรวางไว้ในที่ร่ม ไม่ร้อน และพื้นแห้งนะครับ ผมเก็บไว้ในโรงครัวครับ



11. ในวันที่ 2 ของการเพาะ ถั่วเริ่มงอกออกมาแล้วครับ

12. ในวันที่ 2 ของการเพาะ ถั่วงอกและเริ่มถอดเปลือกออกมาและเห็นรากสีขาวแล้วครับ



13. ในวันที่ 3 ของการเพาะถั่วงอกครับ ถั่วงอกถอดเปลือกและมีสีขาวและอวบขึ้นครับแต่ยังไม่เต็มที่ครับ คงเป็นพรุ่งนี้จึงจะเก็บผลผลิตได้

14. ในวันที่ 4 ของการเพาะ เป็นถั่วงอกโดยสมบูรณ์แล้วครับ ผลผลิตถั่วงอกจากไร่มหาแซม (เพาะเป็นครั้งแรกในชีวิต)



15. เชิญมาทานผัดถั่วงอกด้วยกันครับ อร่อย ปลอดภัย และได้คุณค่าทางโภชนาการสูงด้วยครับ หากทำเยอะๆ ก็สามารถนำไปขายเพิ่มรายได้อีกทางครับ

16. ถั่วงอกเพาะกินเองได้ในบ้านด้วยวิธีง่ายๆ ลองเพาะดูนะครับ หากทำได้ดีแล้วจะเพาะขายก็เพิ่มรายได้อีกด้วยครับ โอกาสหน้าผมจะลงวิธีการเพาะเห็ดนางฟ้ามาให้ดูกันนะครับ..... จาก มหาแซม