วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553







....คำถาม....
1.การจัดสวนถาดคืออะไร ?
2.มีกี่แบบกี่ชนิด ?
3.แต่ละแบบมีอุปกรณ์อะไรบ้าง ?
4.วิธีการเลือกต้นไม้ ?
5.การออกแบบและการเขียนแบบ ?

....เฉลย....

1.ตอบ



ได้แก่ การจัดกลุ่มไม้ดอก กล้วยไม้ ไม้ใบ หรือผสมสานกัน ปลูกลงในภาชะที่ชอบ ไม่ว่าจะเป็นโลหะ เครื่องจักสาน เครื่องเคลือบ กระถางทรงต่าง ๆ เหมาะที่จะเป็นของขวัญ ของกำนัล หรือใช้ตกแต่งสถานที่ โดยมีความทนทานกว่าดอกไม้สด เมื่อต้นไม้เริ่มโตแน่นภาชนะ ก็ย้ายไปปลูกในที่ใหม่ได้ อายุการใช้งานขึ้นอยู่กับการเลือกใช้พันธุไม้ด้วย การจัดสวนถาดในลักษณะนี้ทำให้เกิดความชำนาญในการใช้สีสัน การเลือกรูปทรง เส้นสาย และสัดส่วนของต้นไม้ ความละเอียด ความหยาบของใบ การจัดวางจุดเด่น การเลือกภาชนะให้เข้ากับต้นไม้และรูปแบบการจัดวาง





2.ตอบเนื่องจากภาชนะสำหรับจัดสวนถาดมักมีขนาดเล็กกะทัดรัด ยกย้ายไปมาง่าย หรืออาจจะมีขนาดใหญ่จนเคลื่อนย้ายยาก แต่ก็มีลักษณะจำกัด ทำให้ต้นไม้ไม่สามารถเติบโตหยั่งรากได้อย่างอิสระเช่นอยู่ในพื้นดิน ดังนั้น ต้นไม้สำหรับสวนถาดจึงควรมีขนาดเล็ก แคระ หรือเป็นไม้ดัด ไม้บอนไซ ปลูกเลี้ยงง่าย และทนทานเมื่ออยู่ในที่จำกัด ตัวอย่างเช่น
3.ตอบ เมื่อเราทราบถึงวัสดุในการทำสวนถาดแล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ ภาชนะของสวนถาด ซึ่งก็มีมากมายหลายรูปแบบ อาจเป็นเครื่งอจักสาน เซราปิก หรือเครื่องดินเผา ก็ได้

4.ตอบ
เนื่องจากภาชนะสำหรับจัดสวนถาดมักมีขนาดเล็กกะทัดรัด ยกย้ายไปมาง่าย หรืออาจจะมีขนาดใหญ่จนเคลื่อนย้ายยาก แต่ก็มีลักษณะจำกัด ทำให้ต้นไม้ไม่สามารถเติบโตหยั่งรากได้อย่างอิสระเช่นอยู่ในพื้นดิน ดังนั้น ต้นไม้สำหรับสวนถาดจึงควรมีขนาดเล็ก แคระ หรือเป็นไม้ดัด ไม้บอนไซ ปลูกเลี้ยงง่าย และทนทานเมื่ออยู่ในที่จำกัด ตัวอย่างเช่น


โมกแคระ
ตัดแต่งรูปทรงหรือดัดให้มีรูปร่างเหมือนไม้ใหญ่ได้
สูง 10-30 เซนติเมตร จัดเป้นจุดเด่นนในสวนถาด
ผลิดอกสีขาวขนาดจิ๋ว กลิ่นหอม ใบเล็กรับกับขนาดต้น
ขยายพันธุ์ด้วยวิธีตอนและปักชำ

บลูฮาวาย
ลักษณะเป็นพุ่มไม้เล้ก สูงประมาณ 15-30 เซนติเมตร
ออกดอกที่ปลายยอด สีม่วงน้ำเงิน
เหมาะจัดไว้เป็นฉากหลังเพราะค่อนข้างสูง
ขยายพันธุ์ด้วยวิธีปักชำ

บีโกเนีย
ลักษณะเป็นไม้ดอกล้มลุก
ดอกมีหลายสี เช่น ขาว แดง ชมพู ส้ม
เหมาะจัดไว้ในตำแหน่งที่เห็นดอกชัดเจน
ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ชำยอด ชำใบ

เหลืองคีรีบูน
ลักษณะเป็นไม้พุ่ม
สูง 20-40 เซนติเมตร ดอกเป็นสีเหลือง
เหมาะกับภาชนะที่ใช้ต้นไม้ไม่มากนัก
ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ

ดาดตะกั่ว
เป็นไม้คลุมดิน
หน้าใบสีเขียวเคลือบเงิน หลังใบสีม่วงแดง
เหมาะจัดแทรกไว้กับพันธุ์ไม้อื่น
ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ

พลูด่างต่าง ๆ และฟิโลเดนตรอน
พลูและฟิโลเดนตรอนมีหลายชนิด ส่วนมากใบพลูมักมีขนาดกะทัดรัดกว่าใบฟิโลเดนดรอน ถ้าใช้ฟิโลเดนดรอนก็เลือกพันธุ์ที่มีใบเล็ก แต่คงเหมาะกับกระเช้าขนาดค่อนข้างใหญ่ พลูต่าง ๆ ได้แก่ พลูด่าง ราชินีหินอ่อน พลูทอง พลูลงยา พลูฉลุ พลูสนิม พลูเขียว หัวใจแนบ ทุกชนิดชอบแสงรำไรราว 50-70 %

แคคตัส
ลักษณะเป็นไม้อวบน้ำ
ชอบที่มีแสงอ่อน ๆ
สามารถป้องกันอันตรายากสัตว์ แมลงและกันน้ำระเหยได้
โดยมากมีขนาดเล็ก
5.ตอบ
1. สวนถาดที่มีลักษณะคล้ายการจัดแจกัน ได้แก่ การจัดกลุ่มไม้ดอก กล้วยไม้ ไม้ใบ หรือผสมผสานกัน ปลูก ลงในภาชนะที่ชอบ ไม่ว่าจะเป็นโลหะเครื่องจักสานเครื่องเคลือบกระถางทรง ต่างๆซึ่งเหมาะเป็นของขวัญของกำนัลหรือใช้ตกแต่งสถานที่ โดยมีความทน ทานกว่าดอกไม้สด เมื่อต้นไม้เริ่มโตจนแน่นภาชนะแล้ว ก็ย้ายไปปลูกที่ใหม่ ได้ อายุการใช้วานนั้นขึ้นอยู่กับการเลือกพันธุ์ไม้ด้วย เช่นไม้ดอกล้มลุกย่อมมี อายุสั้นกว่าไม้ใบ เมื่อไม้ดอกหมดอายุเรายังเหลือไม้ใบที่นำไปปลูกต่อได้สวน ถาดที่จัดกลุ่มต้นไม้ เช่น การจัดแจกันนี้ทำให้เกิดความชำนาญในการใช้สีสัน การเลือกรูปทรงเส้นสาย และสัดส่วนของต้นไม้ ความละเอียดความหยาบของใบการจัดวางจุดเด่น การเลือกภาชนะให้เข้ากับต้น ไม้และรูปแบบการจัด
2.สวนถาดที่ย่อส่วนมาจากทิวทัศน์หรือเรื่องราว 2.1 ย่อส่วนทิวทัศน์ภูเขาโดยใช้ก้อนหินจริงมาจำลอง สวนถาดแบบนี้คล้ายการย่อส่วนทิวทัศน์ของภูเขา ซึ่งอาจจงใจให้เป็น ภาพของภูเขาขนาดใหญ่หรือมุมเล็กๆ ของก้อนหิน ซึ่งมีดอกไม้ต้นไม้ขึ้น แทรกอยู่อาจมีตุ๊กตาสัตว์หรือคนจำลอง รวมทั้งสะพาน สิ่งก่อสร้าง เรือ ฯลฯ ควรจัดลงในถาดที่ค่อนข้างตื้น ต่ก็ควรจะลึกพอเพียงสำหรับใส่ดิน หรือเครื่องปลูก ถ้ามีการปลูกต้นไม้ประกอบ หากไม่ใช้ต้นไม้เลยหรือเป็น ต้นไม้ที่ขึ้นเกาะหิน ท่อนไม้หรือไม้ถูกน้ำเซาะ เช่น พวกไทร สับปะรดสี ทิลแลนเซีย ซึ่งไม่ต้องการเครื่องปลูก ภาชนะก็มีลักษณะแบนๆบางๆอาจ มีขอบยกขึ้นเล็กน้อยเพื่อหล่อน้ำใหห้ชุ่มชื่น ซึ่งดูคล้ายเกาะกลางผืนน้ำก็ได้ 2.2 เขามอ หรือสวนถาดที่ก่อภูเขาขึ้นเอง เขามอคือบอนไซชนิดหนึ่งซึ่งคนไทยนิยมเล่นกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณโดยมากมักก่อภูเขาขึ้นเองด้วยหินขนาดเล็กสีน้ำตาล ผิวมีรอยร่อง เรียกว่า หินเสี้ยน ในสมัยก่อนมีการก่อเขามอขนาดใหญ่สูงท่วมศีรษะ เพื่อประดับวังหรือบ้านด้วยปัจจุบันก็มักอยู่ใน ถาดเคลือบ ซึ่งอาจโยกย้ายไปมาได้เหมือนสวนถาดอื่นๆ แต่ก็ทำได้ไม่ง่ายนัก เพราะค่อนข้างมีน้ำหนักมาก ทิวทัศน์ภูเขาเหล่านี้ ค่อนข้างเป็น เทือกเขาแบบภาพวาดของจีนหรือญี่ปุ่น ซึ่งมีต้นไม้ขึ้นแทรกหรือเกาะบนหิน อาจมีแอ่งน้ำ ลำธารหรือน้ำตกบนภูเขาด้วยก็ได้ หรืออาจมีน้ำล้อมรอบภูเขาคล้ายทิวทัศน์ทะเล หรืออาจล้อมรอบภูเขา ด้วยแนวป่าโปร่ง ทุ่งหญ้า ตามแต่จินตนาการของผู้จัด ลักษณะพิเศษของเขามอคือ ภายในกลวง ถ้าจะ เปรียบเทียบอย่างง่าย ก็เหมือนกระถางต้นไม้ใบหนึ่ง ซึ่งมีรูระบายน้ำที่ก้นและรูปทรงของกระถางใบนี้ก็ เป็นภูเขาจำลองนั่นเอง 2.3 ย่อส่วนทิวทัศน์ทั่วไป สวนถาดลักษณะนี้ใช้ภาชนะได้ทุกประเภท แต่ก็ควรมีความลึกพอ สำหรับบรรจุเครื่องปลูกเพราะมักปลูกต้นไม้จริงประกอบอย่างไรก็ดีภาชนะ ควรมีสีหรือรูปทรงที่ไม่เด่นเกินไป จนลดความน่าสนใจของเรื่องราวที่เรา ตั้งใจนำเสนอสวนถาดแบบนี้ ควรมีของตกแต่งที่เข้ากับเรื่องราวที่เราตั้งใจ นำเสนอ เช่น มุมสวนแบบไทยก็อาจมีโอ่งดินเผาขนาดเล็กศาลาหลังคามุง จากรั้วไม้มุมสวนญี่ปุ่นควรมีอ่างหิน ( stone basin ) กระบวยไม้ไผ่ รางน้ำ ไหล รั้วไผ่ขัดแตะถ้าเป็นทิวทัศน์ เราอาจดูแบบอย่างมาจากภาพในหนังสือ ปฏิทิน หรือเก็บความประทับใจจากการท่องเที่ยวสถานที่ต่างๆไม่ว่าจะเป็นในประเทศหรือต่างประเทศ ส่วนเรื่องราวต่างๆนั้น เราอาจผูกเรื่องขึ้นเองเป็นภาพชีวิตในชนบทจากนิทานหรือนิยายปรัมปรา ตลอด จนชีวิตในบ้าน ชีวิตสัตว์ในป่าหรือทุ่งหญ้า






วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553



ถั่วงอก..…..เพาะกินเองในบ้าน.............ปัจจุบัน ถั่วงอกเป็นผักเศรษฐกิจที่น่าสนใจ เฉพาะในกรุงเทพฯ มีการบริโภควันละ 200,000 กิโลกรัม นอกจากนี้เป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะมีโปรตีน วิตามินและเกลือแร่เป็นผักชนิดเดียวที่ใช้เวลาเพาะเพียง 3 - 4 วัน จึงสามารถทำรายได้ดีกับผู้เพาะ แต่พบว่าถั่วงอกส่วนใหญ่ที่จำหน่ายนั้นมีสารเคมีปนเปื้อน เพราะผู้ขายต้องการสนองตลาดผู้บริโภคที่ชอบถั่วงอกที่มีความกรอบขาว และอวบอ้วน นอกจากนี้ผู้ขายยังต้องการเร่งการงอกของถั่ว การรักษาถั่วงอกให้คงความสดอยู่นานระหว่างการขนส่งสู่ตลาด และการรอจำหน่ายสู่ลูกค้า..............ดังนั้นผู้ผลิตจึงใช้สารเคมีจำพวกสารเร่ง สารอ้วน สารฟอกขาว (โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์) สารคงความสด (ฟอร์มาลิน) ซึ่งสารเคมีเหล่านี้กระทรวงสาธารณสุขไม่อนุญาตให้ใช้ผสมในอาหาร เพราะล้วนเป็นสารที่มีพิษต่อร่างกายสูง หากรับประทานเข้าไปอาจจะมีผลต่อระบบทางเดินอาหาร ระบบหายใจ ระบบประสาทและอาจจะทำให้เสียชีวิตได้
ตารางเปรียบเทียบคุณค่าทางอาหารระหว่างผักงอกชนิดต่าง ๆ(created chart by FDA Consumer Magaqine/U.S. Agriculture Department)
ผักงอกดิบ(ปริมาณ 2 ถ้วย)
พลังงาน(คาลอรี่)
โปรตีน (กรัม)
เส้นใย%
วิตามินซี
ธาตุเหล็ก
Folate
..ถั่วอัลฟัลฟางอก
10
1.3
3
5
2
3
..ถั่วเขียวงอก
26
2.5
4
23
4
9
..ผักกาดแดงงอก
16
1.6
A
18
2
9
..ถั่วเหลืองงอก
86
9.0
3
17
8
90
..ข้าวสาลีงอก
214
8.0
4
5
11
10
หมายเหตุ : วิตามินซี ธาตุเหล็ก และ Folate มีปริมาณเป็น % daily value)(คัดลอกและแปลความหมายจาก "SPROUTS AND NUTRITION" by ISGA-International Sprout GrowersAssociation/website address www.isga-sprouts.orgX
หลักการพื้นฐานทั่วไปในการเพาะถั่วงอกปัจจัยที่สำคัญที่การเพาะถั่วงอก มี 6 อย่างด้วยกันคือ1. เมล็ดถั่ว2. ภาชนะเพาะ3. น้ำ4. วัสดุเพาะ5. ภูมิอากาศ6. แสงสว่าง
1. เมล็ดถั่วเมล็ดถั่วที่นำมาเพาะเป็นถั่วงอกที่นิยมบริโภคที่สุดคือ เมล็ดถั่วเขียว เมล็ดถั่วเขียวที่สามารถนำมาเพาะเป็นถั่วงอกนั้นมี 2 พันธุ์ คือ ถั่วเขียวผิวมัน (เปลือกเมล็ดสีเขียว) และเมล็ดถั่วเขียวผิวดำ เมล็ดจะต้องใหม่ไม่เก่าเก็บเพราะอัตราการงอกจะลดลงเรื่อยตามระยะเวลาที่เก็บไว้ เมล็ดต้องสะอาด ไม่มีเชื้อจุลินทรีย์ และจำนำเมล็ดมาทำความสะอาดอย่างดีก่อนเพาะ โดยการแช่เมล็ดถั่วในน้ำอุ่น 50 - 60 องศาเซลเซียส หรือผสมน้ำเดือดจัด 1 ส่วน กับน้ำเย็น 1 ส่วน แช่ทิ้งไว้จนน้ำเย็น แล้วแช่ต่อไปนาน 6 - 8 ชั่วโมง วิธีนี้นอกจากจะฆ่าเชื้อโรคแล้ว ยังกระตุ้นให้ถั่วงอกงอก ได้เร็วขึ้นด้วย
2. ภาชนะภาชนะเพาะทำหน้าที่รองรับเมล็ดถั่ว ป้องกันแสงสว่าง ปรับสภาพความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการงอก จำกัดขอบเขตการงอกของถั่ว ทำให้ถั่วงอกมีลักษณะลำต้นอวบสั้น ภาชนะเพาะควรมีปากแคบเพื่อจำกัดการงอกของถั่ว ภาชนะดินเผาจะเก็บความชื้นได้ดีกว่าภาชนะพลาสติก แต่ภาชนะพลาสติกคงทน น้ำหนักเบา ราคาถูก ทำความสะอาดง่าย โดยปกติเมล็ดถั่ว 1 ส่วน จะโตเป็นถั่วงอกประมาณ 5 - 6 เท่า โดยน้ำหนัก ดังนั้นขนาดของภาขนะควรจะพอเหมาะกับปริมาณของเมล็ดถั่วที่เพาะด้วยภาชนะเพาะควรมีสีทึบเพื่อป้องกันแสงสว่าง หรือเป็นภาชนะที่มีฝาปิด ภาชนะเพาะจะต้องมีรูระบายน้ำทั้งด้านล่างและด้านข้าง ขนาดของจะต้องเล็กกว่าเมล็ดถั่ว ภาชนะเพาะจะต้องสะอาดเสมอ ควรล้างทำความสะอาด คว่ำตากแดดให้แห้งหรือลวกน้ำร้อยฆ่าเชื้อโรค แล้วผึ่งแห้ง หลักจากใช้งานแล้วทุกครั้ง
3. น้ำน้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญสำหรับการเพาะ อาจจะเป็นน้ำจากแหล่งธรรมชาติ น้ำบาดาล หรือน้ำประปาที่สะอาดและมีอุณหภูมิปกติ เมล็ดถั่วจะต้องได้รับน้ำสะอาดและปริมาณที่พอเพียงสม่ำเสมอตลอดการเพาะ 2 - 3 วัน หากขาดน้ำจะทำให้การงอกชะงัก ไม่เติบโตสมบูรณ์ เพราะน้ำเป็นปัจจัยที่ทำให้ถั่วงอกเจริญเติบโต ระบายความร้อยที่เกิดขึ้นระหว่างการงอก ความร้อนภายในภาชนะจะทำให้ถั่วเน่า ควรรดน้ำสะอาดสม่ำเสมอทุก 2 - 3 ชั่วโมง หากภาชนะเป็นพลาสติกและรดน้ำสะอาดทุก 3 - 4 ชั่วโมงหากภาชนะเป็นประเภทดินเผาการรดน้ำจะรดจนกว่าน้ำที่ไหลออกจากภาชนะเพาะมีอุณหภูมิเท่ากับน้ำที่ใช้รดรดน้ำมากถั่วจะเน่า หากรดน้ำน้อยไปถั่วจะรากยาวแตกฝอย นอกจากนี้ ควรตั้งภาชนะเพาะไว้ในที่แห้ง ระบายน้ำและอากาศได้ดี
4. วัสดุเพาะอาจจะใช้วัสดุเพาะเพื่อช่วยเก็บความชื้น เพิ่มน้ำหนักกดทับทำให้ถั่วงอกอวบอ้วน วัสดุเพาะได้แก่ ทราย แกลบเผา ฟางข้าว ฟองน้ำ ฯลฯ การใช้วัสดุเพาะต้องอาศัยความชำนาญ
5. ภูมิอากาศฤดูฝน ฝนตกมาก ความชื้นในอากาศสูง ภาวะการเจริญเติบโตของถั่วจะช้าและเน่าง่าย ปริมาณน้ำที่ใช้รดก็จะน้อยลง
6. แสงสว่างแสงสว่างทำให้ถั่วมีสีเขียว ลำต้นผอมยาว และมีกลิ่นถั่ว ดังนั้นภาชนะเพาะควรทึบแสง หรือมีสีดำ สีเขียว สีน้ำเงิน หรืออาจจะมีฝาปิด หรือตั้งภาชนะไว้ในที่มืด ไม่มีแสง
หนังสืออ้างอิงคมสัน หุตะแพทย์ และกำพล กาหลง. สารพัดวิธีเพาะถั่วงอก สยามศิลปการพิมพ์ : กรุงเทพมหานคร.2545.
วิธีการเพาะถั่วงอกในถังพลาสติกอุปกรณ์1. ถังพลาสติกสีเขียวทึบแสง มีฝาปิด ขนาดกว้าง 7 นิ้ว สูง 6 นิ้ว เจาะรูที่ก้น ขนาดเล็กกว่าเมล็ดถั่วเขียว ประมาณ 12 รู2. เมล็ดถั่วเขียวหนักประมาณ 200 กรัม3. แผ่นฟองน้ำตัดเป็นแผ่นวงกลมขนาดใหญ่กว่าความกว้างของถังเล็กน้อย 1 แผ่น4. น้ำอุ่น (น้ำเดือด 1 ส่วน ผสมกับน้ำอุณหภูมิปกติ 1 ส่วน)5. น้ำสะอาดสำหรับรดน้ำถั่วทุก 3 - 4 ชั่วโมง
ขั้นตอน/วิธีการเพาะ1. การเตรียมเมล็ดถั่ว- เลือกเมล็ดถั่วที่ไม่เก่า เก็บเศษสกปรกและเลือกเมล็ดที่ไม่สมบูรณ์ทิ้ง- แช่ถั่วในน้ำอุ่น และแช่ต่อไปจนน้ำเย็น ประมาณ 6 - 8 ชั่วโมง เมล็ดถั่วจะพองขึ้น เก็บเมล็ดที่ลอยน้ำทิ้งไป- ล้างถั่วให้สะอาด2. การเตรียมภาชนะและวัสดุเพาะ- ภาชนะเพาะจะต้องสะอาด แห้ง ผ่านการตากแดด หรือฆ่าเชื้อแล้ว- ฟองน้ำสะอาดผ่านการฆ่าเชื้อด้วยน้ำร้อน แล้วตากแดดแห้ง3. นำถั่วเขียวจากข้อ 1 ใส่ในถังเพาะเกลี่ยให้เสมอกัน4. วางฟองน้ำปิดทับบนเมล็ดถั่ว5. รดน้ำบนฟองน้ำให้ทั่ว อาจจะใช้ฝักบัวรดน้ำ หรือสายยางก็ได้6. ปิดฝาถังเพาะ วางไว้ในที่ร่ม ไม่ร้อน และพื้นแห้ง อาจจะวางบนอ่างล้านจานในล้าน7. รดน้ำทุก ๆ 3 - 4 ชั่วโมง โดยรดน้ำให้ทั่วบนฟองน้ำ ให้น้ำไหลผ่านออกทางรูด้านล่าง ควรรด 2 ครั้ง ครั้งแรกเพื่อระบายความร้อน ครั้งที่ 2 เพื่อให้ถั่วชุ่มน้ำ หากเวลากลางวันที่ไปทำงานหรือกลางคืน อาจจะวางถังเพาะ เปิดฝาไว้ในอ่างล้างแล้วปล่อย ให้น้ำค่อย ๆ หยดตลอดเวลา8. รดน้ำตามข้อ 7 นาน 3 วัน วันที่ 2 ถั่วงอกจะถอดปลอก ควรรับประทานในวันที่ 3 หรือ 4 หากยังไม่รับประทาน ให้นำถั่วใส่ในตู้เย็น หรือเก็บถั่วงอกใส่ถุงพลาสติก หากทิ้งไว้ถั่วจะงอกยืดยาวออก9. เก็บถั่วงอกออกจากถัง ทำความสะอาดทุกครั้งที่ใช้แล้ว

อุปกรณ์ในการเพาะถั่วงอก

1..เมล็ดถั่วเขียว

2..กระสอบ(ป่าน)

3..ตะแกรงพลาสติก

4..ซึ้ง


.....วิธีการเพาะถั่วงอก.....

1.นำถั่วเขียวไปแช่นำ 8-10 ชั่วโมง

2.นำถั่วเขียวที่เสียคัดออก

3.เอากระสอบป่านวางรองพื้นตามด้วยตะแกรงพลาสติกนำถั่วงอกโรยแล้วทำอย่างนี้ซำหลายๆชั้นจนเสร็จ

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553

ปัจจัยที่สำคัญสำหรับการเพาะถั่วงอก : 1. เมล็ดพันธุ์ถั่วต้องดี มีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูง สายพันธุ์ถั่วเขียวที่คุณนิมิตแนะนำคือ สายพันธุ์ “กำแพงแสน2” เนื่องจากเป็นถั่วเขียวผิวมนเมล็ดใหญ่ มีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูงทำให้ถั่วงอกที่เพาะออกมา ต้นโต ยาว อวบอ้วน น่ารับประทาน2. ภาชนะที่เพาะต้องทึบแสง มีการระบายน้ำดี เช่น การเพาะถั่วงอกในตะกร้า ก็เอาถุงดำมาคลุมแล้วไว้ในห้องที่มืด หรือเพาะในวงบ่อซีเมนต์ที่ปิดปากบ่อให้มืด เป็นต้น3. มีการให้น้ำอย่างเหมาะสมและเพียงพอที่จะทำให้ถั่วงอกที่เพาะไม่เกิดความร้อนที่สะสมมากเกินไป วิธีสังเกตง่าย ๆ ว่ามีความร้อนสะสมหรือไม่โดยให้ผู้เพาะใช้มือสัมผัสเมล็ดถั่วเขียวชั้นบนสุดว่ารู้สึกร้อนหรือไม่ และการให้น้ำแต่ละครั้งจะต้องไม่มีไอจากความร้อนขึ้นมาเพาะถ้าตะกร้าหรือวงบ่อที่เพาะถั่วงอกมีความร้อนสะสมมากไป ก็จะมีผลต่อการเจริญเติบโตของถั่วงอกจะทำให้ลำต้นเล็กไม่อวบอ้วนจะทำให้ถั่วงอกมีรากฝอยมาก ทำให้ไม่น่ารับประทาน***เมื่อเข้าใจหลัก 3 ประการเบื้องต้นแล้ว “เกษตรกรและผู้สนใจควรเริ่มต้นการเพาะถั่วงอกตัดรากแบบใช้ตะกร้าพลาสติกเป็นภาชนะเพื่อให้เกิดความชำนาญก่อนเป็นอันดับแรก” เกษตรกรจะเกิดขบวนการเรียนรู้ ตั้งแต่เริ่มเตรียมอุปกรณ์จนตัดรากถั่วงอกเพื่อจำหน่าย เมื่อเกิดความชำนาญในการเพาะถั่วงอกตัดรากมีตลาดเข้ามาก็สามารถขยายกำลังผลิตได้ไม่ยาก อุปกรณ์ที่ใช้ในขั้นตอนการเพาะถั่วงอกตัดรากในวงบ่อซีเมนต์ : 1. ท่อปูนซีเมนต์ขนาด 50x 50 เซนติเมตร ตามจำนวนที่ต้องการ ซึ่งเจาะท่อด้านล่างด้วยท่อพีวีซี 1 จุดเพื่อให้ระบายน้ำออก2. ตะแกรงรองพื้นก้นท่อ จำนวน 1 อันต่อท่อ ซึ่งใช้ตะแกรงโลหะขนาดรูตาใหญ่ ตัดหรือดัดให้พอดีกับก้นท่อซีเมนต์ยกให้สูงจากพื้นเล็กน้อยเพื่อให้มีการระบายน้ำได้สะดวก3. ตระแกรงเกล็ดปลา เป็นตะแกรงพลาสติกที่มีรูละเอียดมีขนาดของรู กว้าง x ยาว 4-5 มิลลิเมตรเท่านั้น หรือดูให้มีรูตาเล็กกว่าเมล็ดถั่วเขียวป้องกันการหลุดร่วง ตะแกรงชนิดนี้มีจำหน่ายตามร้านวัสดุก่อสร้าง เมื่อเมล็ดถั่วเขียวงอก ส่วนของรากจะแทงทะลุตะแกรงออกมา ส่วนของต้นจะตั้งตรง สะดวกต่อการตัดต้นถั่วงอกออกจากตะแกรง ในการเพาะถั่วงอกตัดรากไร้สารพิษต่อ 1 ตะกร้า จะใช้ตะแกรงรองพื้น 1 แผ่นและตะแกรงเกล็ดปลาจำนวน 4 แผ่น4. กระสอบป่าน ประโยชน์ของการใช้กระสอบป่านหรือกระสอบข้าวเปลือก เพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่เมล็ดถั่วเขียวที่ทำการเพาะและสามารถซักทำความสะอาดได้หลายครั้งหลังจากเพาะถั่วงอกในแต่ละครั้งจะต้องตัดกระสอบป่านให้มีขนาดเท่ากับตะแกรงเกล็ดปลาและจะใช้จำนวน 6 ผืนต่อการเพาะถั่วงอก 1 ท่อ5. ผ้าสักหลาดสีดำ หรือผ้าที่แสงสามารถส่องผ่านเข้าได้ยาก 1 ผืนติดกันเป็นผืนใหญ่เอาไว้คลุมหลังจากที่เพาะถั่วงอกเสร็จตามขั้นตอน

อุปกรณ์ที่ใช้ในการตัดถั่วงอก : 1. มีดด้ามยาว เอาไว้ตัดตัวงอกเมื่ออายุได้ 3 วันแล้ว2. กะละมังใบใหญ่ เอาไว้เวลาตัดถั่วงอกลงล้าง3. ตะแกรงห่างเอาไว้ชอนถั่วงอกใส่ตะกร้า4. ตะกร้า หลังจากที่ทำการตัดรากลงในกะละมังน้ำเพื่อล้าง แล้วชอนถั่วงอกลงตะกร้าเพื่อผึ่งลมให้แห้ง และเข้าสู่ขั้นตอนการบรรจุถุงและการเก็บรักษา5. ขั้นตอนการบรรจุถุงและการเก็บรักษา นับเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ เมื่อต้นถั่วงอกสะเด็ดน้ำแล้วให้รีบเอาไปบรรจุลงถุงพลาสติกทันที มัดปากถุงให้แน่น เหตุผลที่ต้องรีบบรรจุถั่วงอกลงถุงพลาสติกให้เร็วที่สุดเพราะถ้าปล่อยให้ถั่วงอกสัมผัสอากาศนาน ๆ ต้นถั่วงอกจะเปลี่ยนสีจากสีขาวเป็นสีเหลืองแล้วจะคล้ำดำในที่สุด ตลาดไม่ต้องการหรือนำไปประกอบอาหาร ถั่วงอกแบบอินทรีย์นี้สามารถเก็บได้นานถึง 7- 10 วันโดยไม่เหลือง และยังคงความสด และกรอบเหมือนใหม่ ๆ แต่จะต้องเก็บไว้ในตู้เย็น

การเพาะถั่วงอกตัดรากแบบอินทรีย์ในวงบ่อซีเมนต์
มีตัวเลขของการบริโภคถั่วงอกเฉพาะกรุงเทพมหานครเพียงจังหวัดเดียวมีมากถึง 2 แสนกิโลกรัมต่อวัน เมื่อคำนวณทั้งประเทศคนไทยจะบริโภคถั่วงอกไม่น้อยกว่า 1 ล้านกิโลกรัมต่อวัน ดังนั้นอาชีพการเพาะถั่วงอกจึงเป็นอาชีพที่น่าสนใจของเกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป แต่รูปแบบการเพาะถั่วงอกตัดรากและผลิตในรูปแบบของเกษตรอินทรีย์จนได้รับใบรับรองผลิตภัณฑ์อินทรีย์มาตรฐานประเทศไทย จากกรมวิชาการเกษตร จะมีอยู่ไม่กี่ราย ที่มีชื่อเสียงระดับประเทศจะเป็นของ คุณนิมิตร์ เทียมมงคล บ้านเลขที่ 98 หมู่ 3 ต.โคกลำพาน อ.เมือง จ.ลพบุรี 15000 ที่เริ่มต้นจากการเพาะถั่วงอกตัดรากไร้สารพิษในตะกร้าพลาสติก ประยุกต์วัสดุเพาะมาเพาะในบ่อซีเมนต์เนื่องจากตลาดต้องการมากขึ้น คุณนิมิตร์บอกว่าใน การเพาะถั่วงอกในวงบ่อซีเมนต์นั้น จะใช้วงบ่อขนาดปากกว้าง 50 เซนติเมตร สูง 50 เซนติเมตร เมื่อคิดเป็นต้นทุนค่าวงบ่อประมาณ 80 บาทต่อวง ซึ่งเป็นค่าลงทุนเพียงครั้งแรกและครั้งเดียว (เพาะถั่วงอกตัดรากแบบอินทรีย์เพียงครั้งเดียวจะได้ค่าวงบ่อคืนแล้ว) การลงทุนในครั้งต่อ ๆ ไปจะเป็นค่าเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว ซึ่งคุณนิมิตร์จะเลือกใช้ถั่วเขียวพันธุ์ “กำแพงแสน 2” เนื่องจากมีข้อดีที่เมล็ดค่อนข้างใหญ่และมีอัตราการงอกสูง สถานที่จะใช้เพาะควรจะมีการยกพื้นให้มีการระบายน้ำดี ข้อสำคัญยิ่งประการหนึ่งในการเพาะถั่งงอกคือน้ำที่ใช้รดได้น้ำสะอาดจะดีมาก จะใช้น้ำบาดาลก็ได้แต่ถ้าเป็นน้ำประปาควรจะมีที่พักน้ำเพื่อให้กลิ่นคลอรีนเหลือน้อยที่สุด ปัจจุบันคุณนิมิตร์จะเพาะถั่วงอกตัดรากแบบอินทรีย์จำนวน 90 วงบ่อ โดยเพาะครั้งละ 16 วงบ่อ (1 วงบ่อสามารถเพาะถั่วงอกได้ 12 กิโลกรัม) โดยจะเพาะอาทิตย์ละ 2 วัน คือให้มีถั่วงอกส่งลูกค้าทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี ในแต่ละครั้งจะผลิตถั่วงอกได้ประมาณ 200-400 กิโลกรัม มากน้อยแล้วแต่ออร์เดอร์สั่งมา นอกจากนี้ถั่วงอกอินทรีย์ของคุณนิมิตร์จะส่งให้ภาคเอกชนเป็นวัตถุดิบในการผลิตก๋วยเตี๋ยวผัดไทยแบบแช่แข็งส่งไปขายยังสหรัฐอเมริกา คุณนิมิตร์ยังได้บอกว่าเกษตรกรและประชาชนที่สนใจจะเริ่มต้นเพาะถั่วงอกตัดรากแบบอินทรีย์ควรจะเริ่มแบบครัวเรือนทดลองเพาะในตะกร้าพลาสติกให้เกิดความชำนาญเสียก่อน (การเพาะถั่วงอกในวงบ่อจะรักษาความชื้นได้ดีกว่าเพาะในตะกร้าพลาสติก) ในอดีตถั่วงอกตัดรากของคุณนิมิตร์จะมีลักษณะอ้วนสั้น ปัจจุบันจะผลิตเป็นลักษณะผอมแต่ยาวกว่า เนื่องจากพบว่าถั่วงอกที่มีลักษณะอ้วนสั้นมีลักษณะอวบน้ำ อายุการวางจำหน่ายสั้นเน่าเสียได้ง่ายกว่า ถั่วงอกตัดรากแบบอินทรีย์ของคุณนิมิตร์ เทียมมงคล จะมีเอกลักษณ์ที่มีความแตกต่างจากอวบน้ำ อายุการวางจำหน่ายสั้นเน่าเสียได้ง่ายกว่าถั่วงอกที่อื่นตรงที่ เก็บไว้ได้นานวัน เป็นถั่วงอกที่มีความยาวและขาว ที่สำคัญมีรสชาติหวานกรอบ หลายคนที่รับประทานเหมือนมันแกวไม่เหม็นเขียว

วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2553

การเพาะถั้วงอกตัดราก

วิธีและขั้นตอนการเพาะถั่วงอก ::: มาเพาะถั่วงอกกินเองกันเถอะครับ ผมลองทำดูแล้วได้ผลครับ อร่อย ปลอดภัย และได้คุณค่าทางโภชนาการสูงอีกด้วย

ปัจจุบัน ถั่วงอกเป็นผักเศรษฐกิจที่น่าสนใจ เฉพาะในกรุงเทพฯ มีการบริโภควันละ 200,000 กิโลกรัม นอกจากนี้เป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะมีโปรตีน วิตามินและเกลือแร่เป็นผักชนิดเดียวที่ใช้เวลาเพาะเพียง 3-4 วัน จึงสามารถทำรายได้ดีกับผู้เพาะ แต่พบว่าถั่วงอกส่วนใหญ่ที่จำหน่ายนั้นมีสารเคมีปนเปื้อน เพราะผู้ขายต้องการสนองตลาดผู้บริโภคที่ชอบถั่วงอกที่มีความกรอบขาว และอวบอ้วน นอกจากนี้ผู้ขายยังต้องการเร่งการงอกของถั่ว การรักษาถั่วงอกให้คงความสดอยู่นานระหว่างการขนส่งสู่ตลาด และการรอจำหน่ายสู่ลูกค้า ดังนั้นผู้ผลิตจึงใช้สารเคมีจำพวกสารเร่ง สารอ้วน สารฟอกขาว (โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์) สารคงความสด (ฟอร์มาลิน) ซึ่งสารเคมีเหล่านี้กระทรวงสาธารณสุขไม่อนุญาตให้ใช้ผสมในอาหาร เพราะล้วนเป็นสารที่มีพิษต่อร่างกายสูง หากรับประทานเข้าไปอาจจะมีผลต่อระบบทางเดินอาหาร ระบบหายใจ ระบบประสาทและอาจจะทำให้เสียชีวิตได้ ลองมาเพาะถั่วงอกกินเองกันเถอะครับ ผมลองทำดูแล้วได้ผลครับ อร่อย ปลอดภัย และได้คุณค่าทางโภชนาการสูงอีกด้วย เชิญดูวิธีและขั้นตอนการเพาะถั่วงอกตามผมกันเลยครับ

* หากต้องการดูภาพใหญ่ๆ ชัดๆ ให้คลิกที่รูปภาพนั้นๆ

กลับไปหน้าหลักเพื่อดูกิจกรรมอื่นๆ
คลิกที่นี่เพื่อดูประมวลภาพ (ภาพทั้งหมด) ของกิจกรรมนี้

1. ต้มน้ำให้เดือดครับ ตามรูปผมตักน้ำใส่ภาชนะแล้วต้มให้เดือด

2. เทน้ำที่เดือดได้ที่แ้ล้วใส่ภาชนะที่เตรียมไว้น้ำที่ต้มนั้นอาจเป็นน้ำจากแหล่งธรรมชาติ น้ำบาดาล หรือน้ำประปาที่สะอาดก็ได้ครับ



3. เทน้ำอุณหภูมิปกติในลงไป (น้ำเดือด 1 ส่วน ผสมกับน้ำอุณหภูมิปกติ 1 ส่วน) เพื่อให้ได้น้ำอุ่นประมาณ 50-60 องศาเซลเซียส เพื่อเตรียมแช่เมล็ดถั่ว ในรูปผมกำลังเอาปรอทวัดอุณหภูมิว่าได้ตรงตามที่ต้องการหรือเปล่า ภาชนะนั้นอาจใช้ภาชนะดินเผาหรือภาชนะพลาสติกก็ได้นะครับ ผมใช้ภาชนะดินเผา ที่ซื้อมาราคา 130 บาท

4. นำเมล็ดมาทำความสะอาดอย่างดีก่อนเพาะ โดยการแช่เมล็ดถั่วในน้ำอุ่น 50-60 องศาเซลเซียส หรือผสมน้ำเดือดจัด 1 ส่วน กับน้ำเย็น 1 ส่วน แช่ทิ้งไว้จนน้ำเย็น แล้วแช่ต่อไปนาน 6-8 ชั่วโมง เมล็ดถั่วที่นำมาเพาะควรเป็นถั่วงอกที่นิยมบริโภคที่สุดคือ เมล็ดถั่วเขียว เมล็ดถั่วเขียวที่สามารถนำมาเพาะเป็นถั่วงอกนั้นมี 2 พันธุ์ คือ ถั่วเขียวผิวมัน (เปลือกเมล็ดสีเขียว) และเมล็ดถั่วเขียวผิวดำ เมล็ดจะต้องใหม่ไม่เก่าเก็บ เพราะอัตราการงอกจะลดลงเรื่อยๆ ตามระยะเวลาที่เก็บไว้ เมล็ดต้องสะอาด ไม่มีเชื้อจุลินทรีย์



5. เจาะรูด้านล่าง (ก้น) ภาชนะอีกใบ เพื่อเตรียมเอาถั่วมาเพาะ ที่ต้องเจาะรูก็เพื่อไม่ให้น้ำขังเวลาเรารดถั่ว ถ้าไม่มีการระบายน้ำออกถั่วก็จะเน่าได้ครับ ขนาดของรูให้เล็กกว่าเมล็ดถั่วนะครับ ผมเจาะประมาณ 7 รูครับ

6. เมื่อแช่ถั่วในน้ำอุ่น (ตามข้อ 4) ครบ 6-8 ชั่วโมงแล้ว (ผมแช่ไว้ตอนบ่าย 4 โมงเย็น ตอนนี้ 6 ทุ่มแล้ว) ให้นำถั่วไปใส่ภาชนะที่จะเพาะ (เมล็ดถั่วที่แช่ด้วยน้ำอุ่นแล้วจะพองขึ้น ให้เก็บเมล็ดที่ลอยน้ำทิ้งไปด้วยนะครับ)



7. โดยปกติเมล็ดถั่ว 1 ส่วน จะโตเป็นถั่วงอกประมาณ 5-6 เท่า โดยน้ำหนัก ดังนั้นขนาดของภาชนะควรจะพอเหมาะกับปริมาณของเมล็ดถั่วที่เพาะด้วย ภาชนะเพาะควรมีสีทึบเพื่อป้องกันแสงสว่าง หรือเป็นภาชนะที่มีฝาปิด ภาชนะเพาะจะต้องมีรูระบายน้ำทั้งด้านล่างและด้านข้าง ขนาดของรูระบายจะต้องเล็กกว่าเมล็ดถั่ว ภาชนะเพาะจะต้องสะอาดเสมอ ควรล้างทำความสะอาด คว่ำตากแดดให้แห้งหรือลวกน้ำร้อนฆ่าเชื้อโรค แล้วผึ่งแห้ง หลังจากใช้งานแล้วทุกครั้ง

8. เมื่อนำเมล็ดถั่วใส่ในถังเพาะเกลี่ยให้เสมอกันแล้ว ให้ปิดด้วยฟองน้ำหรือฝาขาวที่สะอาดก็ได้ จากนั้นให้รดน้ำด้านบนให้ทั่ว อาจจะใช้ฝักบัวรดน้ำ หรือสายยางก็ได้ การรดน้ำนั้นให้รดน้ำทุก ๆ 3-4 ชั่วโมง โดยรดน้ำให้ทั่ว ให้น้ำไหลผ่านออกทางรูด้านล่าง ควรรด 2 ครั้ง ครั้งแรกเพื่อระบายความร้อน ครั้งที่ 2 เพื่อให้ถั่วชุ่มน้ำ หากเวลากลางวันที่ไปทำงานหรือกลางคืน อาจจะวางถังเพาะ เปิดฝาไว้ในอ่างล้างแล้วปล่อย ให้น้ำค่อย ๆ หยดตลอดเวลา



9. การรดน้ำนั้นให้รดน้ำทุก ๆ 3-4 ชั่วโมง โดยรดน้ำให้ทั่ว ให้น้ำไหลผ่านออกทางรูด้านล่าง ควรรด 2 ครั้ง ครั้งแรกเพื่อระบายความร้อน ครั้งที่ 2 เพื่อให้ถั่วชุ่มน้ำ

10. ภาชนะควรวางไว้ในที่ร่ม ไม่ร้อน และพื้นแห้งนะครับ ผมเก็บไว้ในโรงครัวครับ



11. ในวันที่ 2 ของการเพาะ ถั่วเริ่มงอกออกมาแล้วครับ

12. ในวันที่ 2 ของการเพาะ ถั่วงอกและเริ่มถอดเปลือกออกมาและเห็นรากสีขาวแล้วครับ



13. ในวันที่ 3 ของการเพาะถั่วงอกครับ ถั่วงอกถอดเปลือกและมีสีขาวและอวบขึ้นครับแต่ยังไม่เต็มที่ครับ คงเป็นพรุ่งนี้จึงจะเก็บผลผลิตได้

14. ในวันที่ 4 ของการเพาะ เป็นถั่วงอกโดยสมบูรณ์แล้วครับ ผลผลิตถั่วงอกจากไร่มหาแซม (เพาะเป็นครั้งแรกในชีวิต)



15. เชิญมาทานผัดถั่วงอกด้วยกันครับ อร่อย ปลอดภัย และได้คุณค่าทางโภชนาการสูงด้วยครับ หากทำเยอะๆ ก็สามารถนำไปขายเพิ่มรายได้อีกทางครับ

16. ถั่วงอกเพาะกินเองได้ในบ้านด้วยวิธีง่ายๆ ลองเพาะดูนะครับ หากทำได้ดีแล้วจะเพาะขายก็เพิ่มรายได้อีกด้วยครับ โอกาสหน้าผมจะลงวิธีการเพาะเห็ดนางฟ้ามาให้ดูกันนะครับ..... จาก มหาแซม

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การขุดย้ายต้นไม้จากป่าในอดีตนั้นพันธุ์ไม้ที่จะนำมาดัดส่วนมากจะไปเลือกหาและขุดออกมาจากป่า ในสมัยนั้นไม้ในป่าหรือในธรรมชาติยังมีอยู่มากจึงหาได้ง่าย แต่การขุดต้นไม้จากป่าจากธรรมชาติแล้วขนย้ายมาปลูกตามที่ต้องการนั้น ต้องถือเป็นภูมิปัญญาของคนโบราณที่ควรแก่การยกย่อง เริ่มตั้งแต่พิจารณาเลือกต้นไม้ตามความต้องการได้แล้วจะกระทำการขุดล้อมให้ตัวไม้นั้นรู้สึกตัวเสียก่อนสักระยะหนึ่ง โดยมีรากฝอยมากๆส่วนรากใหญ่และรากแก้วก็ให้ตัดทิ้งออกบ้าง เหลือไว้เพียง 1-2 ราก เมื่อเห็นว่าต้นไม้นั้นสามารถที่จะปรับตัวได้แล้วจึงขุดขึ้นมา ในปัจจุบันมักไม่มีการขุดล้อม แต่จะใช้วิธีขุดย้ายในเวลาเดียวกัน เพราะต้นไม้หายากและต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการไปเสาะหาในท้องถิ่นที่ห่างไกล และต้นไม้ที่ถูกขุดล้อมไว้นั้นก็เสี่ยงต่อการสูญหายการขุดย้ายต้นไม้นั้นขั้นแรกต้องถากถางบริเวณโดยรอบให้เตียนและปัดกวาดให้โล่งเรียบเพื่อป้องกันสัตว์อันตราย เช่น งู ตะขาบ แมลงป่อง ใช้มีดฟันส่วนของต้นไม้ที่ไม่ต้องการทิ้ง ถ้าเป็นกิ่งใหญ่ก็ต้องใช้เลื่อย แล้วจึงใช้กรรไกรตัดแต่งกิ่งเล็กกิ่งน้อยให้เรียบร้อย เพื่อไม่ให้เกะกะกีดขวางการทำงาน กำหนดหลุมขุดโดยรอบต้นหรือตอไม้ให้ห่าง 4-5 นิ้ว โดยวางฝ่ามือลงในระยะห่างจากนิ้วชี้ถึงนิ้วก้อย (ไม่นับนิ้วหัวแม่มือ) ขั้นตอนต่อไปใช้จอบขุดบุกเบิกเพื่อความรวดเร็ว ขุดหลุมให้กว้างๆสะดวกแก่การจะใช้ชะแลงขุดเซาะต่อ ขณะที่ขุดหลุมโดยรอบต้นไม้นั้นต้องระวังอย่าให้ตุ้ม (ดินที่ห่อหุ้มโดยรอบต้นไม้)แตก ถ้าตุ้มแตกแล้วเปอร์เซ็นต์ที่ต้นไม้จะรอดตายมีน้อยมาก (ถ้าตุ้มแตกควรโกยดินกลบหลุมที่ขุดแล้วกลับมาขุดใหม่ในปีต่อไป) ในขณะที่ขุดหากพบรากแขนงให้ใช้เลื่อยเล็กค่อยๆตัดรากและเจียนตุ้ม จนมนที่สุดจะพบรากแก้วอยู่ตรงส่วนที่ลึกสุดใช้ชะแลงแทงให้รากแก้วขาดแล้วนำมาเกราแต่งตุ้มตัดรากให้เรียบร้อย ใช้ถุงพลาสติกขนาดใหญ่ผ่าข้าง หุ้มมัดด้วยเชือกปอให้แน่นกันตุ้มแตกเมื่อได้รับการกระทบกระเทือนระหว่างขนย้าย